เปลี่ยนภาษา:  English

ผลงานไฮไลต์

วิทยานิพนธ์ดีเด่น

ผศ.ดร.วุฒิพล สินธุนาวารัตน์ นักวิจัยรางวัลระดับโลก กับผลงาน “ทฤษฎีจุดตรึงและการประยุกต์ (Fixed point theory and applications)

ผศ.ดร.วุฒิพล สินธุนาวารัตน์ อาจารย์สาขาคณิตศาสตร์และสถิติ กับผลงานวิจัยโดดเด่นในหัวข้อ “ทฤษฎีจุดตรึงและการประยุกต์ (Fixed point theory and applications)” ได้รับรางวัลวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอก ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ระดับดี จากสภาวิจัยแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2557 และได้รับการคัดเลือกเป็นนักวิจัยรุ่นใหม่ดีเด่นระดับคณะฯ ปี พ.ศ. 2557 เป็นนักคณิตศาสตร์ของประเทศไทยเพียงท่านเดียวที่ได้รับการคัดเลือกให้ได้รับรางวัล “The World’s Most Influential Scientific Minds 2015” จาก ทอมสัน รอยเตอร์ส (Thomson Reuters)

การสังเคราะห์และการออกฤทธิ์ทางชีวภาพของอนุภาคโปรตีนขนาดเล็กในกลุ่ม Cysteine Knot Microprotein

ดร. ภานุมาศ ทองอยู่ อาจารย์สาขาวิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประสบความสำเร็จในการพัฒนาการสังเคราะห์ MCoTIscyclotide ทั้งที่เป็นแบบที่สามารถพบได้ในธรรมชาติและอนุพันธ์โดยใช้วิธีที่พัฒนาขึ้น 2 วิธีทั้งที่เป็นแบบเคมีอินทรีย์สังเคราะห์ที่เรียกว่า thia-zip native chemical ligation และแบบชีวเคมี

 

Liquid crystals: rediscovered materials fascinating researchers for more than a century

บทความวิจัย Liquid crystals: rediscovered materials fascinating researchers for more than a century (Smectic B phase of methyl 4-(4′-octylphenyl)benzoate) ซึ่งมีภาพ liquid crystal ถ่ายโดยใช้กล้องไมโครสโคป ซึ่ง รศ.ดร.สุกฤษ ตันตราวงศ์ อาจารย์สาขาวิชาเคมีส่งรูปเข้าร่วมแข่งขัน “Materials Today Cover Competition 2014, Sponsored by Zeiss” ผลงานชิ้นนี้เป็น 1 ใน 10 ชิ้นที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ และได้รับคัดเลือกเป็นหน้าปกของวารสาร Materials Today ปี 2014 ฉบับที่ 17

 

การจำลองโครงสร้างคาร์บอนนาโนทิว

งานวิจัยเรื่อง Dissipative Particle Dynamics Study of SWCNT Reinforced Natural Rubber Composite System: An Important Role of Self‐Avoiding Model on Mechanical Properties โดย รศ.ดร.ยุทธนา ตันติรุ่งโรจน์ชัย หัวหน้าหน่วยวิจัยเคมีเชิงคำนวณ สาขาวิชาเคมีซึ่งได้รับการตีพิมพ์ในฐาน SCOPUS และได้รับการคัดเลือกให้ลงปกหน้าของวารสาร Macromolecule Theory and Simulationsปี 2018, Volume 27 แสดงการจำลองโครงสร้างคาร์บอนนาโนทิว ซึ่ง cross-linking กับ polyisoprene โดยใช้การประมวลผลจากคอมพิวเตอร์

การสังเคราะห์และการออกฤทธิ์ทางชีวภาพของอนุภาคโปรตีนขนาดเล็กในกลุ่ม Cysteine Knot Microprotein

งานวิจัยพื้นฐานโดย รศ.ดร.พีระศักดิ์ เภาประเสริฐและนักศึกษาสาขาวิชาเคมี ที่ใช้ปฏิกิริยาทางเคมีเปลี่ยนขยะเป็นสารที่มีมูลค่าสูง คือคาร์บอนดอท ซึ่งใช้เป็นเซนเซอร์ในทางการแพทย์และตรวจวัดมลพิษในสิ่งแวดล้อม เนื่องจากมีคุณสมบัติในการเรืองแสง นอกจากนี้ยังใช้เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา ใช้ประกอบการสร้าง superconductor เป็นต้น  ตีพิมพ์ใน ฐาน SCOPUS 10 ผลงาน รางวัลชนะเลิศ ideal proposalในงาน PTTGC INNOVATION Challenge 2016 และ “Carbon Dots: They are 50 Times More Expensive Than Gold” ได้รับถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพฯ