โอกาสของทุกคนที่ฝันอยากสร้างนวัตกรรมดิจิทัล

หลักสูตร วท.บ.
เทคโนโลยี และนวัตกรรมดิจิทัล
ศูนย์ลำปาง

สัมผัสประสบการณ์การเรียนรู้แบบลงมือปฏิบัติจริงกับห้องปฏิบัติการอันล้ำสมัยและพันธมิตรทางอุตสาหกรรมที่เตรียมคุณให้พร้อมสำหรับอาชีพด้านเทคโนโลยีที่ประสบความสำเร็จ
10 กันยายน 2567
นักศึกษาสาขาวิชาเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลและนักศึกษาสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง เข้าร่วม Workshop เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนเข้าร่วมแข่งขัน Gen AI Hackathon Powered by AWS ในวันที่ 7 – 8 กันยายน 2567 ณ อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

อ่านต่อ ➡️

6 กันยายน 2567

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง ขอแสดงความยินดีกับนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาวิชาเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลและสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ ที่คว้า 3 เหรียญเงิน และ 4 เหรียญทองแดง จากการประกวดผลงานนวัตกรรมสายอุดมศึกษา ประจำปี 2567 ในงาน มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2567 (Thailand Research Expo 2024)” ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 26 – 28 สิงหาคม 2567 ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพมหานคร

อ่านต่อ ➡️

12 กันยายน 2567

🎉 ขอแสดงความยินดีกับนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาวิชาเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัล ศูนย์ลำปาง ที่ได้รับทุนสนับสนุนการศึกษาจาก คุณวีร์ ตั้งมั่นภักดีพงศ์ และครอบครัว ประจำปีการศึกษา 2567

อ่านต่อ ➡️

19 มีนาคม 2568

“อะตอมสัมพันธ์” นักศึกษาภายในคณะฯ ทัศนศึกษาเยี่ยมชมอุทยานดาราศาสตร์สิรินธร ท้องฟ้าจำลอง
อควาเรียม และสวนสัตว์เชียงใหม่

รายละเอียดเพิ่มเติม ➡️

11 ธันวาคม 2567

ทีมนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปางคว้ารางวัลที่ 2 ในการแข่งขัน 7th APAC HPC-AI และ ยังได้รับรางวัล Best Presentation Award

รายละเอียดเพิ่มเติม ➡️

25 พฤศจิกายน 2567

คว้ารางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 รุ่น Prototype จากการแข่งขัน Sci-Soft Power Innovation Hackathon 2024 รอบสุดท้าย

19 พฤศจิกายน 2567

กิจกรรมแสดงผลงานนักศึกษา วิชา DTI102
Level Up: DTI102 Game Showcase

รายละเอียดเพิ่มเติม ➡️

PURE SCIENCE

งานวิจัยศึกษาค้นคว้าด้านวิทยาศาสตร์ธรรมชาติขั้นสูง เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ขั้นแนวหน้าในศาสตร์วิทยาศาสตร์ด้านต่างๆ

SCI+LIFE

ผลงานวิจัยประยุกต์ใช้องค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ร่วมกับเทคโนโลยีต่างๆ เพื่อแก้ไขปัญหาตอบโจทย์เรื่องพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ผู้คนในสังคมไทย

SCI+BUSINESS

นวัตกรรมสร้างสรรค์ผสมผสานองค์ความรู้หลายศาสตร์ มาต่อยอดเป็นผลงานที่มีประโยชน์ในวงกว้างตอบโจทย์ความต้องการ และมีมูลค่าเชิงพาณิชย์

สารจากคณบดี

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เปิดการเรียนการสอน ตั้งแต่ พ.ศ. 2529 เป็นต้นมา ปัจจุบันคณะมีความก้าวหน้ามากขึ้น และมีหลักสูตรในกลุ่มวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์ และกลุ่มวิทยาศาสตร์ประยุกต์ รวม 48 หลักสูตร ที่รองรับการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย และสังคมโลกในมิติด้านต่างๆ  ภายใต้ความเชี่ยวชาญของคณาจารย์ 234 คน และสายสนับสนุน 129 คน ที่สนับสนุนให้คณะมีความเข้มแข็งทางวิชาการ และสร้างชื่อเสียงในความเชี่ยวชาญของแต่ละสาขา สร้างผลงานวิจัย และนวัตกรรม จากบรรยากาศแห่ง Innovation Community เพื่อพัฒนาไปสู่การเป็นองค์กรแห่งปัญญา ที่จะนำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อภาคอุตสาหกรรม เกษตรกรรม และสังคมให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง และคณะมีความมุ่งมั่นผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ มีกำลังสติปัญญาที่นำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัย และนวัตกรรม เพื่อพัฒนาภาคอุตสาหกรรม เกษตรกรรม และสังคมไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ภายใต้สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และการเกิดโรคระบาด ที่เราไม่สามารถคาดการณ์ได้ถึง แต่สิ่งสำคัญคือการใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัย และนวัตกรรม ช่วยให้มนุษย์สามารถรอดพ้นจากภัยที่ท้าทาย และในฐานะสถาบันอุดมศึกษาที่อุดมด้วยปัญญาจะต้องปรับตัวให้ก้าวทันและนำยุคสมัยในสถานการณ์ที่ท้าทายนี้

 

ในระยะถัดไปนี้ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มุ่งมั่นที่จะสร้างบัณฑิตให้เป็นผู้นำวิจัยและนวัตกรรม ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ก้าวสู่ระดับสากล ผู้นำที่พัฒนาสังคมให้ทันยุคสมัยใหม่ พร้อมมีทักษะและคุณค่าต่อสังคม ที่ปัญญาในการแก้ไขและรับมือกับปัญหาที่มีความซับซ้อน และอยู่ร่วมกับสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว บัณฑิตที่มีความคิดสร้างสรรค์เพื่อสร้างสิ่งใหม่ที่ตอบโจทย์ปัญหาข้างหน้าได้ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัย และนวัตกรรม

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พร้อมสร้างการเปลี่ยนแปลงและเป็นองค์กรแห่งปัญญา แห่งสังคม ร่วมแรง ร่วมใจ ทำงานด้วยความโปร่งใส และมีวัฒนธรรมองค์กรที่ทำงานเป็นทีม และบูรณาการระหว่างศาสตร์ ช่วยกันขับเคลื่อนวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัย และนวัตกรรม เพื่อการพัฒนาประเทศที่ยั่งยืน

รองศาสตราจารย์ ดร.สุเพชร จิรขจรกุล
คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

 

แผนที่