ความหลากหลายคือพลังให้เราก้าวไปข้างหน้า

คณะวิทยาศาสตร์ 
และเทคโนโลยี ศูนย์ลำปาง

บ่มเพาะผู้นำยุคใหม่ด้วยประสบการณ์เรียนรู้ซึ่งส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรมและทักษะผู้ประกอบการ

นักศึกษาสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ ที่ได้รับรางวัล Best of The Best paper Award และรางวัลบทความระดับ Excellent, Very Good และ Good จากการประชุมวิชาการระดับปริญญาตรีด้านคอมพิวเตอร์ภูมิภาคเอเชีย ครั้งที่ 12 (The Asia Undergraduate Conference on Computing หรือ AUCC 2024) ระหว่างวันที่ 21 – 23 กุมภาพันธ์ 2567 ณ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จ.มหาสารคาม

📄 บทความ แบบจำลองทำนายราคาข้าวโพดโดยใช้การเรียนรู้เชิงลึก
👥โดยสิรินทรา สามชัยรัตน์, พัธดล ศรีอินทร์, สุกฤษฏิ์ ปัญญาสิทธิ์, อ.ปกรณ์ แววสว่างวงศ์ และ ผศ. ดร.กฤตคม ศรีจิรานนท์
🏆ได้รับรางวัล Best of The Best Paper Award
📄 บทความ ระบบนำทางอัจฉริยะสำหรับผู้พิการทางการมองเห็น
👥โดย อาวัธชัย แย้มแสง, ธนวัฒน์ วิเศษสุด, ศฎานนท์ เรียงสันเทียะ และ ผศ. ดร.กฤตคม ศรีจิรานนท์
🏆ได้รับรางวัล Best of Track Award : Innovation และบทความวิจัยแบบนวัตกรรมระดับดีเยี่ยม (Excellent)
📄 บทความ ระบบติดตามท่าลุกยืนสำหรับผู้สูงอายุ
👥โดย พัชราพร แสนแก้ว, ชัชฎาพร พุ่มทุเรียน, จิราพร บุญสพ, นันท์มนัส วริษฐานิษฐ์, ธนภัทร ตาดทอง และ ผศ. ดร.กฤตคม ศรีจิรานนท์
🎖ได้รับรางวัล Runner Up of Track Award : Computational Intelligence และบทความวิจัยแบบบรรยายระดับดีมาก (Very Good)
📄 บทความ แอปพลิเคชันวิเคราะห์พฤติกรรมการรับประทานสำหรับโรคตับ
👥โดย ธนาพรรษ ตันอ้าย และ ผศ. ดร.กฤตคม ศรีจิรานนท์
🎖ได้รับรางวัลจากการนำเสนอบทความวิจัยแบบบรรยายระดับดี (Good)

นักศึกษาวิทยาการคอม มธ. ลำปาง โชว์ผลงาน ในงาน (Innovation for Crime Combating Contest 2023 : I4C-2023) 

นักศึกษาสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ศูนย์ลำปาง เข้าร่วมแข่งขันในรอบสุดท้าย ในการประกวดผลงานนวัตกรรมเทคโนโลยีสนับสนุนการสืบสวนสอบสวนคดีพิเศษ ประจำปี พ.ศ. 2566 (Innovation for Crime Combating Contest 2023 : I4C-2023) ณ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จังหวัดปทุมธานี

ผลงาน คริมแทรค: ระบบติดตามผู้ต้องหาจากระยะไกลและทำนายประเภทของบริเวณพื้นที่ที่ตรวจจับ โดยทีมผู้พัฒนาประกอบไปด้วยนายพันกร ลอออ่อน นายนันท์มนัส วริษฐานิษฐ์ และนายธนภัทร ตาดทองโดยผลงานดังกล่าวมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กฤตคม ศรีจิรานนท์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา
นอกจากนี้นักศึกษาทีมดังกล่าวยังได้การตอบรับให้เข้าฝึกงานเพื่อต่อยอดผลงาน ณ ส่วนวิจัยและพัฒนาอุปกรณ์พิเศษ กองเทคโนโลยีและศูนย์ข้อมูลการตรวจสอบ กรมสอบสวนคดีพิเศษ

ข่าวการศึกษา/วิจัย

1 กุมภาพันธ์ 2567
♥️มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง ขอแสดงความยินดีกับ💛
🔸น.ส. กมลชนก โชยโย
นักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
🇯🇵ที่ได้รับการคัดเลือกเข้าร่วมแลกเปลี่ยน มหาวิทยาลัยคู่สัญญา
ณ Saga University, Japan
จำนวน 2 ภาคการศึกษา🎌

 

8 กุมภาพันธ์ 2567
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง จัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์หลักสูตร ณ โรงเรียนพิงครัตน์จ.เชียงใหม่

อ่านต่อ ➡️

17 สิงหาคม 2566

ประชาสัมพันธ์หลักสูตรเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัล DTI ให้กับนักเรียนมัธยมปลาย โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการเขลางค์นคร จ.ลำปาง

อ่านต่อ ➡️

7 กันยายน 2566

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง จัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์หลักสูตร ณ โรงเรียนประชาวิทย์

อ่านต่อ ➡️

3 มีนาคม 2566
😍ขอแสดงความยินดีกับทีมนักศึกษาสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง ในการคว้ารางวัลต่อเนื่อง 2 ปีซ้อน 🎉🎉
วงการ Super Computing นานาชาติ ร่วมแสดงความยินดีกับนักศึกษาธรรมศาสตร์ โชว์เคสของความมุ่งมั่นพยายาม นำทีมไทยคว้ารางวัลความเร็วสูงสุด ชนะ 24 ทีมทั่วภูมิภาค APAC ที่ประเทศสิงคโปร์
23 กุมภาพันธ์ 2566

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง ขอแสดงความยินดีกับ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง

อ่านต่อ ➡️

8 มิถุนายน 2566

กิจกรรมนักศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง “สำหรับเพื่อนใหม่ TU89” ปีการศึกษา 2566ฃ

อ่านต่อ ➡️

ข่าวทุนการศึกษา / สัมนา / อบรม

ข่าวทั้งหมด  ➡️
2 กันยายน 2566
กิจกรรมสัมมนาคณะกรรมการนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำปีการศึกษา 2566
วันที่ 2 กันยายน 2566 ณ ลําปางรีสอร์ท จังหวัดลำปาง
วันที่ 4 มกราคม 2566
รศ.ดร.สุเพชร จิรขจรกุล คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พร้อมด้วยตัวแทนนักศึกษาจากสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ SCI-TU ศูนย์ลำปาง เข้าพบคุณบุญชู ตรีทอง
อ่านต่อ ➡️

PURE SCIENCE

งานวิจัยศึกษาค้นคว้าด้านวิทยาศาสตร์ธรรมชาติขั้นสูง เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ขั้นแนวหน้าในศาสตร์วิทยาศาสตร์ด้านต่างๆ

SCI+LIFE

ผลงานวิจัยประยุกต์ใช้องค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ร่วมกับเทคโนโลยีต่างๆ เพื่อแก้ไขปัญหาตอบโจทย์เรื่องพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ผู้คนในสังคมไทย

SCI+BUSINESS

นวัตกรรมสร้างสรรค์ผสมผสานองค์ความรู้หลายศาสตร์ มาต่อยอดเป็นผลงานที่มีประโยชน์ในวงกว้างตอบโจทย์ความต้องการ และมีมูลค่าเชิงพาณิชย์

สารจากคณบดี

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เปิดการเรียนการสอน ตั้งแต่ พ.ศ. 2529 เป็นต้นมา ปัจจุบันคณะมีความก้าวหน้ามากขึ้น และมีหลักสูตรในกลุ่มวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์ และกลุ่มวิทยาศาสตร์ประยุกต์ รวม 48 หลักสูตร ที่รองรับการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย และสังคมโลกในมิติด้านต่างๆ  ภายใต้ความเชี่ยวชาญของคณาจารย์ 234 คน และสายสนับสนุน 129 คน ที่สนับสนุนให้คณะมีความเข้มแข็งทางวิชาการ และสร้างชื่อเสียงในความเชี่ยวชาญของแต่ละสาขา สร้างผลงานวิจัย และนวัตกรรม จากบรรยากาศแห่ง Innovation Community เพื่อพัฒนาไปสู่การเป็นองค์กรแห่งปัญญา ที่จะนำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อภาคอุตสาหกรรม เกษตรกรรม และสังคมให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง และคณะมีความมุ่งมั่นผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ มีกำลังสติปัญญาที่นำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัย และนวัตกรรม เพื่อพัฒนาภาคอุตสาหกรรม เกษตรกรรม และสังคมไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ภายใต้สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และการเกิดโรคระบาด ที่เราไม่สามารถคาดการณ์ได้ถึง แต่สิ่งสำคัญคือการใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัย และนวัตกรรม ช่วยให้มนุษย์สามารถรอดพ้นจากภัยที่ท้าทาย และในฐานะสถาบันอุดมศึกษาที่อุดมด้วยปัญญาจะต้องปรับตัวให้ก้าวทันและนำยุคสมัยในสถานการณ์ที่ท้าทายนี้

 

ในระยะถัดไปนี้ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มุ่งมั่นที่จะสร้างบัณฑิตให้เป็นผู้นำวิจัยและนวัตกรรม ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ก้าวสู่ระดับสากล ผู้นำที่พัฒนาสังคมให้ทันยุคสมัยใหม่ พร้อมมีทักษะและคุณค่าต่อสังคม ที่ปัญญาในการแก้ไขและรับมือกับปัญหาที่มีความซับซ้อน และอยู่ร่วมกับสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว บัณฑิตที่มีความคิดสร้างสรรค์เพื่อสร้างสิ่งใหม่ที่ตอบโจทย์ปัญหาข้างหน้าได้ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัย และนวัตกรรม

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พร้อมสร้างการเปลี่ยนแปลงและเป็นองค์กรแห่งปัญญา แห่งสังคม ร่วมแรง ร่วมใจ ทำงานด้วยความโปร่งใส และมีวัฒนธรรมองค์กรที่ทำงานเป็นทีม และบูรณาการระหว่างศาสตร์ ช่วยกันขับเคลื่อนวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัย และนวัตกรรม เพื่อการพัฒนาประเทศที่ยั่งยืน

รองศาสตราจารย์ ดร.สุเพชร จิรขจรกุล
คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

 

แผนที่