Change Language: ภาษาไทย
11 ธันวาคม 2567
ทีมนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง คว้ารางวัลในงาน “7th APAC HPC-AI”



ในปี พ.ศ. 2567 ที่ผ่านมา ทั่วโลกเผชิญเหตุความแปรปรวนทางสภาพภูมิอากาศและภัยธรรมชาติ อย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ไม่ว่าจะเป็นภัยแล้ง น้ำท่วมฉับพลัน หิมะบนยอดภูเขาไฟฟูจิตกช้าไปหนึ่งเดือน สภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงเป็นปัญหาเร่งด่วนของทุกชีวิตในโลก การคำนวนสมรรถนะสูงโดยซูเปอร์คอมพิวเตอร์ หรือ เฮชพีซี (HPC – High Performance Computing) และปัญญาประดิษฐ์ (AI) มีบทบาทสำคัญในการผลักดันการค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์เพื่อพร้อมรับภัยพิบัติ ป้องกันรักษาสิ่งแวดล้อม และพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยปีนี้เป็นปีแรกที่ AI ได้รับการยอมรับในระดับรางวัลโนเบลทั้งในสาขาเคมีและสาขาฟิสิกส์ อย่างไรก็ตามการคำนวณ HPC ใช้พลังงานสูง ซูเปอร์คอมพิวเตอร์จึงมีส่วนปล่อยก๊าซเรือนกระจกถึงร้อยละ 2.7 เช่นเดียวกับอุตสาหกรรมอื่น ทั่วโลกจึงมุ่งเน้นการลดการปล่อยมลพิษเหล่านี้ลง 75% ใน 5 ปีข้างหน้า ทักษะการเร่งความเร็ว หรือ Benchmarking เป็นเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยลดการใช้พลังงานและโปรแกรมยังคงความสามารถในการคำนวณเพื่อความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์















“ตลอด 7 ปีที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นทีมประเทศไทยที่เข้าร่วมการแข่งขันนี้อย่างแอกทีฟ เราได้รางวัลที่ 3 ติดต่อกันสองปีซ้อน และคว้ารางวัล Best HPC Performance Award และปีที่แล้วเราได้รางวัล Merrit Place ทีมผู้เข้าร่วมแข่งขันในแต่ละปีล้วนเป็นมหาวิทยาลัยระดับโลกที่เป็นผู้นำด้าน HPC แม้ทีมธรรมศาสตร์จะมีประสบการณ์ ทักษะและความรู้เพิ่มขึ้น โจทย์ในแต่ละปีท้าทายขึ้น การขยับขึ้นสู่อันดับที่ 1 หรือ 2 ในกลุ่มผู้เข้าแข่งขันระดับนี้เป็นความท้าทายมาก”
“การคว้าทั้งรางวัลที่สองและ Best Presentation Award ให้ประเทศไทย เป็นความสำเร็จก้าวสำคัญ รางวัลนี้เป็นผลตอบแทนจากความมุ่งมั่นทำงานหนักตลอด 6 เดือน เพื่อให้ประเทศไทยร่วมเป็นผู้นำด้าน HPC-AI ในเวลาระดับนานาชาติ”
“บัณฑิตคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ศูนย์รังสิตและศูนย์ลำปาง กว่า 40 คน ได้รับการฝึกฝนทักษะผ่านการแข่งขันนี้ ผลการสำรวจบอกว่าเราว่า ทักษะการเร่งกำลังความเร็วบนซูเปอร์คอมพิวเตอร์เป็นทักษะที่ยั่งยืน ได้ใช้ประโยชน์ในการทำงานและมีส่วนเสริมให้ได้งานที่มีรายได้สูง”
ทางทีมขอขอบคุณ คณะกรรมการตัดสินผู้เชี่ยวชาญจากทั่วโลกที่ให้คำแนะนำอันเป็นประโยชน์ ขอบคุณผู้จัดงาน จาก HPC-AI Advisory Council และทรัพยากรคำนวณจาก NSCC Singapore และ NCI Australia ขอบคุณคำแนะนำจาก ดร.วิวรรณ จรีรัตนชาติ และเครื่อง LANTA สำหรับฝึกซ้อมจาก ThaiSC สํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ศูนย์เทคโนโลยี อิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ




มหาวิทยาลัย: National Tsing Hua University (ไต้หวัน)
บันทึกสำคัญ: เป็นทีมแรกที่ได้รับรางวัล Triple Crown Champion


มหาวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ประเทศไทย)

มหาวิทยาลัย: Nanyang Technological University (สิงคโปร์)
รางวัลพิเศษ: Best Presentation Award


มหาวิทยาลัย: National Tsing Hua University (ไต้หวัน)

มหาวิทยาลัย: Lanzhou University (จีน)

มหาวิทยาลัย: Southern University of Science and Technology (จีน)

มหาวิทยาลัย: National Cheng Kung University (ไต้หวัน)

ทีม LzuPenguin
มหาวิทยาลัย: Lanzhou University (จีน)
ทีม Nailoong Lovers
มหาวิทยาลัย: Southern University of Science and Technology (จีน)
ทีม Universiti Putra Malaysia Team 2
มหาวิทยาลัย: Universiti Putra Malaysia (มาเลเซีย)
ทีม DeepNeuron
มหาวิทยาลัย: Monash University (ออสเตรเลีย)
รางวัลพิเศษอื่น ๆ

ทีม: Aincrad Progressors (National Tsing Hua University, ไต้หวัน)

ทีม: Nanyang Technological University (สิงคโปร์)

ทีม: Universiti Putra Malaysia Team 3 (มาเลเซีย)
วิดีโอการนำเสนอของทีม https://www.youtube.com/watch?v=qItqzOp9aZc
