เปลี่ยนภาษา: English
เรียนที่ Sci&Tech @Thammasat Lampang
หลักสูตรของเรา
วท.บ. เทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัล
ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ภาษาไทย ชื่อเต็ม วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัล
ชื่อย่อ วท.บ. (เทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัล)
ภาษาอังกฤษ ชื่อเต็ม Bachelor of Science in
ชื่อย่อ B.Sc. (Digital Technology and Innovation)
เปิดสอน วิชาเอก นวัตกรรมดิจิทัลบูรณาการ (Integrated Digital Innovation)
Download หลักสูตรฉบับเต็ม
เรียนจบไปทำอะไรได้บ้าง?
ถ้างานสายไอที สายคอมพิวเตอร์ งานด้านเทคโนโลยีดิจิทัล เป็นงานในฝัน จบ DTI สามารถมีทักษะความรู้ในการประกอบอาชีพเหล่านี้ได้
- นักพัฒนาซอฟต์แวร์ นักพัฒนาเอพีไอ ผู้มีความสามารถในการวิเคราะห์และปรับปรุงสมรรถนะของโปรแกรม
- นักวิทยาการข้อมูล นักวิเคราะห์ข้อมูล ผู้ใส่คำประกอบชุดข้อมูล
- นักพัฒนาบนระบบประมวลผลสมรรถนะสูง ผู้ดูแลระบบคลาวด์ เจ้าหน้าที่คอมพิวเตอร์เพื่องานคำนวณสมรรถนะสูง
- อาชีพและสายงานที่เกี่ยวข้องกับปัญญาประดิษฐ์
- นักพัฒนาระบบสมองกลฝังตัว นักพัฒนาไอโอที นักพัฒนาผลิตภัณฑ์ดิจิทัล และนวัตกรรมด้านไอโอที
- นักออกแบบผลิตภัณฑ์ดิจิทัล นักวิเคราะห์ธุรกิจ นักออกแบบระบบติดต่อกับผู้ใช้ นักออกแบบผลิตสื่อดิจิทัลแบบปฏิสัมพันธ์
- นักวิชาการคอมพิวเตอร์ เจ้าหน้าที่คอมพิวเตอร์ เจ้าหน้าที่สารสนเทศ เจ้าหน้าที่สนับสนุนและบริการระบบสารสนเทศ ในหน่วยงานของรัฐ เอกชน ตำรวจ ทหาร สถานพยาบาล
- เจ้าของกิจการ สตาร์ตอัป สำหรับพัฒนาผลิตภัณฑ์ดิจิทัล หรือกิจการที่ให้บริการด้านสารสนเทศ รับจ้างจัดเก็บข้อมูล ติดตั้งระบบไอโอที จัดทำชุดข้อมูล ใส่คำประกอบชุดข้อมูล
- นักเขียนบทความอิสระ ผู้ดูแลเว็บไซต์
- ผู้ช่วยจัดการฝึกอบรมด้านไอที ผู้ช่วยวิจัย อาจารย์ผู้ช่วยสอนวุฒิปริญญาตรี
เรียนที่ไหน เรียนอย่างไร?
สถานที่จัดการเรียนการสอน
- คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง
จัดการเรียนการสอนในภาษาไทย แต่อาจจะมีเอกสารประกอบ หรือใช้สื่อการสอนในภาษาอังกฤษ
ค่าเล่าเรียนเท่าไร? มีทุนการศึกษาไหม?
หลักสูตรนี้ มีระยะเวลาการศึกษา 3 ปีครึ่ง (7 ภาคเรียน) นักศึกษาสามารถจบการศึกษาได้ใน 3 ปี
สำหรับนักศึกษาไทย ค่าเล่าเรียนแบบเหมาจ่าย ภาคเรียนละ 22,300 บาท
ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร
- นักศึกษาไทย 156,100 บาท
- นักศึกษาต่างชาติ 222,950 บาท
จบสายไหน ต้องสอบอะไร ถึงจะเข้าเรียนได้?
คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษาต้องเป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ว่าด้วยการศึกษาชั้นปริญญาตรี พ.ศ.2561 ข้อ 14 และเป็นผู้สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 6 หรือ เทียบเท่า เช่น สายสามัญ กศน. ปวช. หรือ สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรนานาชาติ หรือ มีวุฒิจากต่างประเทศ ตามประกาศแนวทางการเทียบวุฒิการศึกษาฯ ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หรือ เป็นผู้สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตร GED (General Educational Development)
โครงสร้างหลักสูตร และเล่มหลักสูตรฉบับเต็ม
จำนวนหน่วยกิตรวม
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 120 หน่วยกิต
โครงสร้างหลักสูตร
นักศึกษาจะต้องจดทะเบียนศึกษารายวิชา รวมไม่น้อยกว่า 120 หน่วยกิต โดยศึกษารายวิชาต่างๆ ครบตามโครงสร้างองค์ประกอบ และข้อกำหนดของหลักสูตรดังนี้
1) วิชาศึกษาทั่วไป 30 หน่วยกิต
2) วิชาเฉพาะ 84 หน่วยกิต
2.1) วิชาแกน 24 หน่วยกิต
2.2) วิชาเอกนวัตกรรมดิจิทัลบูรณาการ 45 หน่วยกิต
2.2.1 วิชาเอกบังคับ 30 หน่วยกิต
2.2.2 วิชาเอกเลือก 15 หน่วยกิต
2.3) วิชาโท/วิชาเรียนรู้จากการปฏิบัติ 15 หน่วยกิต
3) วิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต
รวม 120 หน่วยกิต